ซัดกันนัว!! ชาวบ้าน-คณะกรรมการ ประเด็นบริหาร คำชะโนด

ประเด็นร้อนไม่แพ้เรื่องอื่นในตอนนี้ สำหรับการบริหาร คำชะโนด โดยชาวบ้านออกมาร้องเรื่องการบริหารของคณะกรรมว่า มีการรีดค่าลัดคิว ส่วนกรรมการอ้าง ชาวบ้านมาบริหารเองวุ่นวายแน่นอน

กรณีชาวบ้านโนนเมือง ร้องเรียน คณะกรรมการ คำชะโนด ผลประโยชน์ล่อใจ ด้วยการเรียกเก็บค่าเงินเพื่อลัดคิวเข้าสักการะปู่ศรีสุทโธ เงินบริจาค การเก็บเงินจากผู้ค้าที่เข้ามาวางขๅยล็อตเตอรี่ สินค้า ค่าจอดรถฯลฯ

ล่าสุด มีการประชุมร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว นายธวัชชัย ศรีทอง รองผู้ว่าราชการจ.อุดรธานี ได้หยิบยก ข้อร้องเรียน ที่ชาวบ้านยื่นหนังสือต่อนายอำเภอและอยากให้ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เข้ามาตรวจสอบ 4 ข้อสำคัญคือ

1. สิทธิชุมชนขั้นพื้นฐานของพลเมืองที่จะพึงมีอยู่

2. ขอสอบถามหรือ ตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการบริหารคำชะโนด

3. เรื่องกำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในคำชะโนดเกี่ยวกับจุดคัดกรอง

4. กรณีเจ้าหน้าที่คุnคามชาวบ้านโนนเมือง

นายพงษ์ศักดิ์ ศรีชนะ กำนัน ต.บ้านม่วง ในฐานะรักษาการ ผู้จัดการคำชะโนด เปิดเผยในที่ประชุมว่า ก่อนหน้าที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 14 หมู่บ้าน จะมาดูแลคำชะโนดช่วย ชาวบ้านบ้านโนนเมืองเป็นฝ่ายดูแลกันเอง แต่เกิดเรื่องร้องเรียนแทบทุกปี

จนมาสมัยนายอำเภอศักดิ์ชัย แตงฮ่อ ในสมัยนั้น ต้องพาไปสาบานต่อหน้าปู่ศรีสุทโธว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ให้รักและสามัคคีกัน ไม่ทะเลาะกัน จากนั้นก็มีการจัดระเบียบการบริหารจัดคำชะโนด มีหลายฝ่ายเข้ามาร่วม เพื่อไม่ให้มีปัญหา เรื่องผลประโยชน์

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง และเปลี่ยนทีมดูแลคำชะโนด มาแล้วหลายชุด จนล่าสุด ให้กำนันผู้ใหญ่บ้านทั้ง 14 หมู่บ้าน กำนันทุกตำบล มาเป็นคณะกรรมการคำชะโนด ดูแลจนถึงขณะนี้

ด้าน นางเพ็ญจิตร เชื้อคำจันทร์ กำนัน ต.วังทอง กล่าวเพิ่มเติมว่า ชาวบ้านโนนเมือง ได้รับสิทธิ์มากกว่าคนใน 3 ตำบลคือ ต.บ้านม่วง ต.วังทอง ต.บ้านจันทน์ แต่ถ้าจะให้มาเป็นคณะกรรมการคำชะโนด คงเป็นไปไม่ได้ เพราะมีปัญหาการพูดจากับนักท่องเที่ยวอีก

“ชาวบ้านมองว่า คณะกรรมการคำชะโนด ที่เป็นกำนันผู้ใหญ่บ้าน มากินงบประมาณของคำชะโนด เราไม่ได้มากินงบประมาณ แต่เรามาทำงาน ให้เป็นระบบและระเบียบ เขาคิดว่าคณะกรรมการที่เป็นอยู่ขณะนี้ มากินงบประมาณของคำชะโนดซึ่งมันไม่ใช่”นางเพ็ญจิตร กล่าว

ส่วนในเรื่องการคุnคามชาวบ้านนั้น พ.ต.อ.สมบัติ นาแถมพลอย ผกก.สภ.ดงเย็น กล่าวว่า คำชะโนดแต่ก่อนได้รับคำชมเชย มาจากภายนอกทั้งหมด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น มาจากพวกเราร้องเรียนกันเอง

นายธวัชชัย ศรีทอง รองผู้ว่าราชการจ.อุดรธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้น อยากให้ทุกคนเปิดอกคุยกัน ทั้งคณะกรรมการ และชาวบ้านชุมชนบ้านโนนเมือง ดีกว่าเป็นข่าวออกไปในทางที่ไม่ดี

ส่วนกรณีที่ชาวบ้านร้องเรียน ต้องการให้ยกเลิกจุดคัดกรองนั้น คงยกเลิกไม่ได้ เพราะจะยกเลิกได้ ก็ต่อเมื่อไวรัสโควิด-19 หายไปจากประเทศไทย และต่อไป คงจะให้มีการจองออนไลน์ให้มากขึ้น เช่น ปัจจุบัน เปิดให้จองวันละ 5,000 คน ก็ให้เพิ่มเป็น 7,000-8,000 คน

“ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะคนที่เข้าระบบ เขาก็มาตามระบบ แต่คนที่มาแบบไม่ได้จองคิวออนไลน์ก็เยอะ ตรงนี้เป็นปัญหา ทำให้เกิดช่องว่างว่า มีการจ่ายเงินลัดคิวตามที่เป็นข่าว ซึ่งต้องมีการตรวจสอบ ไม่ให้เกิดขึ้น”นายธวัชชัยกล่าว

สำหรับการจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้ผู้ใหญ่บ้าน ที่มาปฏิบัติงานนั้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เมื่อทำงานก็ต้องได้เบี้ยเลี้ยง ส่วนกรณีที่คณะกรรมการคำชะโนด จัดระเบียบในช่วงโควิด-19 ไม่ให้พราหมณ์เข้าไปทำพิธี ก็ให้ผู้ใหญ่บ้านปรับเปลี่นเป็นการให้ทำภายนอก ถือว่าถูกต้องแล้ว

โดยสรุปแล้ว ปัญหาคำชะโนด ที่ชาวบ้านต้องการให้การยกเลิกจุดคัดกรอง คงไม่เลิก จนกว่าโควิด-19 จะหายไปจากประเทศไทย แต่จะเพิ่มรอบจำนวนคนต่อวันให้มากขึ้น ส่วนเรื่องสิทธิของคนในชุมชนบ้านโนนเมือง ให้ไปคุยกัน อย่าให้มีเรื่องผลประโยชน์

แหล่งที่มา : thebangkokinsight.com, siamrath.co.th

เรียบเรียงโดย : item2day.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.