รัฐใช้ 200 ล้าน เพื่อสร้างคลอง 100 เมตร “ในหลวง ร.9” ทรงตรัสว่า เราทำได้ 1 กิโลเมตร ใช้ 60 ล้าน

วันนี้เราจะพาทุกท่านย้อนไปครั้งสมัยน้ำท่วม กรุงเทพฯ เมื่อปี 2523 น้ำท่วม หมู่บ้านเสรี แถวรามคำแหง ยาวนานกว่า 2 เดือน ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวง ร.9 ได้ทรงเรียกดอกเตอร์กว่า 23 ชีวิต เข้าเฝ้าฯ เพื่อหารือถึงแผนการเอาน้ำออกจากบริเวณหลังมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้เร็วที่สุด

หลังจากการปรึกษาหารือ วันนั้นนักวิชาการกราบบังคมทูลว่าต้องขุดคลองกว้าง 100 เมตร ลึก 4 เมตร ยาวประมาณ 10 ก.ม. พอน้ำเหนือบ่ามาก็ไหลออกทะเลไปได้เลย ซึ่งใช้เงินประมาณ 200 ล้านบาท

ในหลวงมีรับสั่งว่าจะใช้เงินขนาดนี้คงไม่ไหว และตรัสถามต่อว่าคลองนี้น่าจะใช้ประโยชน์ได้ปีละประมาณกี่วัน นักวิชาการกราบทูลว่าประมาณ 14-16 วัน ซึ่งก็คือช่วงน้ำเหนือไหลบ่าลงมา พอตรัสถามถึง 300 กว่าวันที่เหลือ บรรดาดอกเตอร์ก็ทูลว่าปล่อยให้เป็นคลองแห้ง ๆ ไป

เมื่อได้ยินดังนั้นจึงรับสั่งต่อว่า “ไม่พอหรอกคลองกว้าง 100 เมตร ฉันต้องการคลองกว้าง 1 กิโลเมตร” ทุกคนก็งงกันใหญ่ เพราะการสร้างคลองกว้างขนาดนั้นต้องใช้เงินประมาณ 2,000 ล้านบาท

ซึ่งขนาดแค่ 200 ล้าน ในหลวงยังว่าแพงเลย จึงมีรับสั่งต่อว่า “นักวิชาการพอนึกถึงคลองก็ต้องขุดกันไปตลอด คลองนี้เรามีอยู่แล้วและใช้ปีหนึ่งไม่ถึง 20 วัน ทำไมต้องขุดด้วย คลองนั้นกว้าง 1 กิโลเมตร เสียเงินอย่างมาก 60 ล้านเท่านั้uเอง”

จุดนี้เหล่าดอกเตอร์ก็ยิ่งงงเข้าไปอีก จนในหลวงอธิบายว่า จริง ๆ แล้วคือการสร้างถนนที่มีคันถนนสูงเสมอกัน และอยู่ห่างกัน 1 กม. ขนานไปเรื่อย ๆ ส่วนตรงกลางให้เก็บเป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับปลูกข้าวหรือทำเกษตร ถ้าถึงหน้าน้ำ น้ำที่ท่วมก็จะไหลไปตามพื้นที่สีเขียวระหว่างถนนนี้

เรียกว่าเป็นคลองลอยฟ้าหรือคลองบนดินลักษณะเดียวกับฟลัดเวย์ และต่อให้น้ำท่วมขัง 20 วัน ข้าวก็ยังไม่ตๅย เก็บเกี่ยวผลผลิตได้อีก ส่วนเวลาน้ำไม่หลากก็ใช้พื้นที่นั้นทำประโยชน์อย่างอื่นได้ เรียกว่าสร้างครั้งเดียวใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง

หลายคนอาจจะกำลังนึกภาพตามว่าถนนคลองที่ว่านี้คือถนนสายไหน ก็ต้องเล่าว่าท้ายที่สุดแล้วโครงการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพราะพื้นที่ที่จะต้องสร้างถนนนั้นมีประชาชนเข้ามาจับจอง และเกิดหมู่บ้านจัดสรรขึ้นมากมาย จึงไม่สามารถหาพื้นที่กว้าง 1 กม. ได้

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าในหลวงทรงไม่ยึดติดกับตำรา การระบายน้ำไม่จำเป็นต้องขุดคลองเสมอไป ประเด็นสำคัญอยู่ที่จะระบายน้ำอย่างไรถึงเร็วและคุ้มค่าที่สุด อย่างไรก็ดี โครงการนี้ได้ถูกพัฒนาไปเป็นอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน ทำให้เลี่ยงปัญหาเวนคืนได้ในที่สุด

แหล่งที่มา: หนังสือใต้เบื้องพระยุคลบาท โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล / liekr

เรียบเรียงโดย item2day.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.