ไอติม ชี้ “เกณฑ์ทหารไม่จำเป็น” ข้อมูลเชิงเศรษฐศาสตร์ชี้ชัด

อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือไอติม โพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลิกการ เกณฑ์ทหาร โดยเล่าถึงความไม่จำเป็น

จากโพสต์ระบุว่า อีกกี่ชีวิตต้องสูญเสีย อีกนานแค่ไหนกว่ากองทัพจะเปิดทาง ยกเลิกเกณฑ์ทหาร ลำพังการสูญเสียบุคลากรของประเทศ แม้เพียงคนเดียว ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียใจพอแล้ว

แต่การจบชีวิตภายในค่ายทหารของพลทหารถึง 3 นาย ที่มีอายุเพียง 21-22 ปี ซึ่งปรากฏเป็นข่าวภายในสัปดาห์เดียว เป็นเรื่องที่สะเทือนจิตใจของคนในสังคมอย่างถึงที่สุด

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน ภายหลังมีข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่รับรองร่างพระราชบัญญัติยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร ทำให้ร่างกฎหมายนี้ไม่มีโอกาสได้รับการพิจารณาในสภา

“ผมติดตามเรื่องนี้พร้อมกับคำถามที่ว่า จะมีประชาชนอีกกี่คนที่ต้องสูญเสียอนาคตของเขาหลังจากถูกบังคับเข้าไปเป็นทหาร ประเทศนี้จะพัฒนาได้อีกมากแค่ไหน

หากพลทหารเหล่านี้ได้มีโอกาสเลือกทำงานที่เขารัก และกองทัพบกในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด จะปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกกี่ครั้ง จึงจะเริ่มแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ อย่างจริงจังและจริงใจเสียที”

ข้อเสนอหนึ่งที่ผมพูดมาตลอด คือการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร และเปลี่ยนไปใช้ระบบสมัครใจทั้งหมดอย่างเดียว โดยมี 3 เหตุผลรองรับ

1.“การเกณฑ์ทหาร ไม่จำเป็น”  ทหารเป็นอาชีพที่มีคุณค่าและสำคัญต่อประเทศ หากทหารได้ทำหน้าที่ของทหารจริงๆ แต่สิ่งที่ผมกำลังหมายถึง คือไม่จำเป็นต้อง “เกณฑ์” หรือบังคับ แต่ให้รับเฉพาะคนที่สมัครใจ

“ผมพูดเรื่องนี้ ไม่ใช่ด้วยอคติ แต่ด้วยข้อมูล เพราะเมื่อวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์จากอุปสงค์ (Demand) และ อุปทาน (Supply) แล้ว จะเห็นว่าการเกณฑ์ทหารในไทยไม่มีความจำเป็นต่อการรักษาความมั่นคงในประเทศ”

จากอุปสงค์ (Demand) หรือความต้องการของกองทัพ การขอกำลังพล 100,000 ต่อปี ถือว่า “สูงกว่าความจำเป็น” ในการรักษาความมั่นคง เมื่อเปรียบเทียบขนาดของกองทัพและยอดกำลังพลต่อประชากรกับต่างประเทศ จะพบว่าประเทศไทยน่าจะสามารถลดยอดพลทหารได้ถึง 30-40%

โดยปัจจุบัน ประเทศที่มีกองทัพขนาดใหญ่กว่าเรา และกองทัพต่อประชากรสูงกว่าเรา มีเพียงเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ เมียนมา อิหร่าน และรัสเซีย ซึ่งจะเห็นว่าประเทศเหล่านี้ หากไม่เป็นประเทศมหาอำนาจ ก็เป็นประเทศที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทั้งสิ้น

นอกจากนั้น จากประสบการณ์ส่วนตัวเมื่อครั้งเป็นพลทหาร และจากการพูดคุยกับพลทหารและนายทหารจากค่ายอื่นๆ ผมได้เห็นว่าในจำนวน 100,000 คนนั้น หลายคนไม่ได้ทำงานที่จำเป็นต่อความมั่นคง

บางคนเป็น “ยอดผี” ที่มีชื่ออยู่ใน 100,000 คน แต่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นทหารด้วยซ้ำ เพราะอาจมีการมอบเงินเดือนตัวเองไปแลกกับการได้ออกมาจากค่ายก่อนเวลา

บางคนทำหน้าที่เป็นทหารรับใช้ประจำบ้านของนายทหาร เพื่อทำหน้าที่ซักผ้า ตัดหญ้า ขับรถ ให้นายทหารโดยไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง

บางคนทำงานที่ดูผิวเผินเหมือนจะยุ่ง แต่ในความเป็นจริง อาจเป็นการสร้าง “งานปลอม” ที่ไม่ได้สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจในวงกว้าง (เช่น การใช้เวลาทั้งวันทำความสะอาดกองร้อย – วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้ค่ายทหารสะอาด คือการไม่ต้องเกณฑ์ทหารหลายคนไปอยู่ในค่ายทหารตั้งแต่ต้น)

งานบางอย่างอาจใช้คนเยอะไป หรือเป็นงานที่เทคโนโลยีทำแทนได้ภัยคุnคามต่อประเทศได้เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นประเภทที่ขนาดของกำลังพลไม่สามารถช่วยอะไรได้ เช่น ภัยของอๅวุธนิวเคลียร์ ภัยคุnคามทางเศรษฐกิจ หรือภัยคุnคามทางไซเบอร์

เมื่อวิเคราะห์จากด้านอุปสงค์ (Supply) หรือจำนวนคนสมัครเป็นทหาร จะพบว่าตัวเลข “สูงกว่านี้ได้” หากประชาชนเห็นว่าพลทหารมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งจะได้มาจาก 3 ทาง คือ

– รายได้ที่สูงขึ้น (จากอัตราปัจจุบันที่ 10,000 บาท) และที่ไม่ถูกหักค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าชุดที่ถูกบังคับให้ต้องซื้อ

– สวัสดิการที่กว้างขวางขึ้น เช่น ด้านการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมไปถึงครอบครัวพลทหาร หรือ การสนับสนุนทุนการศึกษาให้ทหารหรือบุตรหลาน

– ความก้าวหน้าทางอาชีพ ที่มีทางเลือกมากขึ้น ไม่ว่าจะลดเกณฑ์เรื่องวุฒิการศึกษาในการสมัครต่อนายสิบ หรือการสร้างความเท่าเทียมระหว่างพลทหารที่ต้องการเติบโตในกองทัพ กับนักเรียนจากโรงเรียนนายร้อย

สิ่งที่เป็นรูปธรรมของความไม่มั่นใจว่าการเป็นพลทหารจะมาพร้อมกับคุณภาพชีวิตที่ดี คือภาพความผิดหวัง-เสียใจของชายไทยหลายคนที่ปรากฏอยู่ทุกปี เมื่อรู้ว่าตัวเองจับได้ใบแดง

ผมเชื่อว่าความรู้สึกนั้นไม่ได้เกิดจากความไม่กล้าหาญ หรือไม่ต้องการ “รับใช้ชาติ” แต่เพราะเขารู้ว่าเวลาที่ต้องอยู่ในกองทัพ คือค่าเสียโอกาสที่ประเมินไม่ได้ บางคนสูญเสียรายได้ บางคนต้องออกจากงานที่กำลังไปได้ดี บางคนต้องแยกจากครอบครัว ภรรยา และลูกที่ยังเล็ก

ดังนั้น หากกองทัพทราบว่าไม่จำเป็นต้องมีกำลังพลมากขนาดนั้น หากทราบว่าเศรษฐกิจไทยต้องเสียแรงงานไปถึง 100,000 คนต่อปี เหตุใดจึงยังสมควรต้องมีการเกณฑ์ทหารอยู่

2.“ระบบเกณฑ์ทหารปัจจุบัน นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำ” ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นตั้งแต่กระบวนการคัดเลือก เพราะคนที่เกิดในครอบครัวที่พอมีฐานะ สามารถเรียนต่อในระดับ ม.ปลาย เลือกเรียนวิชารักษาดินแดน (รด.) ได้

หรือบางคนที่จับได้ใบดำ ก็อาจไม่ใช่เพราะมีโชคช่วย กลายเป็นว่าคนที่ต้องแบกรับภาระนี้ คือคนที่มีโอกาสทางสังคมน้อย ส่วนคนรวย มีเส้นสาย มีโอกาสรอดมากกว่า

3.“การเกณฑ์ทหาร ทำให้กองทัพไม่เอาจริงกับเรื่องความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในค่าย” ความจริงแล้ว กองทัพต้องเอาจริงเอาจังกับความรุนแรง ไม่ว่าจะต่อทหารที่ถูกเกณฑ์ หรือ ทหารที่สมัครใจเข้าไป (เช่น  “น้องเมย” ที่เป็นนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 ที่สมัครใจเข้าไปเป็นทหาร)

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงในค่าย และเพื่อแสดงความจริงใจในความต้องการแก้ไขปัญหานี้ กองทัพควรมี “ความโปร่งใส” มากกว่านี้ ผ่านกลไกต่างๆ ที่เราเคยเห็นว่ามีการใช้อย่างประสบความสําเร็จในต่างประเทศ เช่น

จัดตั้งผู้ตรวจการกองทัพ (Military ombudsman) ทำหน้าที่ตรวจสอบกองทัพแทนรัฐสภา ดำเนินการสืบสวนข้อค้นพบเกี่ยวกับกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทหาร และรับเรื่องร้องเรียนจากกำลังพลโดยตรง

ปฏิรูปหลักสูตร จปร. และ จัดหลักสูตรอบรมและฝึกฝนบุคลากรทหารเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อลดความรุนแรงทั้งทางร่างกาย (เช่น การธำรงวินัยที่นำมาสู่อันตรายต่อร่างกาย) และ ทางจิตใจ (เช่น การโจมตีทางวาจากับบุคคลเพศทางเลือก)

อย่างไรก็ตาม การยกเลิกการเกณฑ์ทหารยังคงเป็นอีกกลไกสำคัญในการแก้ปัญหานี้ ตราบใดที่ยังมีการเกณฑ์อยู่ กองทัพก็อาจปล่อยให้ปัญหาคงอยู่ต่อไปได้ เพราะหากจำนวนคนสมัครมีน้อย ก็สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายมาบังคับให้ตัวเองมีคนเข้ามาทำงานตามยอดที่เรียกได้

แต่ถ้าไม่มีการเกณฑ์ และยอดสมัครไม่ถึงจำนวนที่ตั้งไว้ กองทัพก็จะมีคนไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปตัวเองจากภายใน เพื่อให้มียอดสมัครที่สูงขึ้น ด้วยการทำให้การเป็นทหารมิใช่เพียง “หน้าที่ของชายไทย” แต่ต้องเป็นอาชีพที่น่าดึงดูดและปราศจากความรุนแรงจากภายในค่ายเอง

ไม่มีใครพอใจที่ต้องพูดถึงเรื่องนี้แบบปีต่อปี หากชาติคือประชาชน ผมหวังว่ากองทัพบกในฐานะหน่วยงานหนึ่งที่ใช้เงินภาษี จะได้แสดง “ความรักชาติ” นั้น ผ่านการแก้ไขปัญหาที่ประชาชนเรียกร้องโดยเร็วที่สุด

ผมเชื่อว่าการ #ยกเลิกเกณฑ์ทหาร จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น “ประชาชน” ที่ต้องการเป็นทหาร ที่สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ปลoดภัยและดีขึ้นในค่าย

ไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่ต้องการประกอบอาชีพอื่น ที่สามารถเลือกเดินตามความฝันของตัวเอง สร้างรายได้ให้ครอบครัว และสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้ประเทศได้

ไม่ว่าจะเป็น “ประเทศ” ที่ยังคงมั่นคงเหมือนเดิมและสามารถรับมือกับภัยคุnคามในอนาคตได้อย่างเท่าทัน แต่มีการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมขึ้นกว่าเดิม

หรือไม่ว่าจะเป็น “กองทัพ” เอง ที่จะหลุดพ้นข้อครหา “สถาบันอำนาจนิยม” ไปสู่ “กองทัพยุคใหม่” ที่แม้เล็กลงด้วยขนาด แต่แข็งแกร่งด้วยประสิทธิภาพ และเต็มไปด้วยบุคลากรที่สมัครใจทำงานและพร้อมทุ่มเทให้องค์กรอย่างแท้จริง

ป.ล.สามารถรับฟังความเห็นของผมเรื่องการเกณฑ์ทหารได้เต็มๆ ผ่านรายการ Pro & Constitution ที่ผมได้พูดถึงเรื่องนี้ในแง่มุมของรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติว่าการรับราชการทหาร เป็นหน้าที่ของชายไทย

แหล่งที่มา : khaosod.co.th

เรียบเรียงโดย : tem2day.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.