จำไว้ให้ขึ้นใจ ห้ามค้ำประกันหนี้ให้ใครเด็ดขาด ถ้าไม่ใช่บุคคลเหล่านี้

การค้ำประกัน พูดตามตัวอักษรเลยคือการยืนยันว่ามีผู้มารับผิดชอบแทน โดยส่วนมากแล้วจะเอามาใช้กับการกู้หนี้ ยืมสินกัน ซึ่งในขณะที่เราจำเป็นต้องใช้เงิน แต่เงินที่มีนั้นไม่มากพอ จึงจำเป็นต้องกู้เพื่อเป็นลูกหนี้ ทั้งนี้ทางเจ้าหนี้เองก็ต้องมั่นใจว่า เมื่อปล่อยเงินกู้ จะต้องมีผู้รับผิดชอบเพื่อสร้างความมั่นใจว่าเข้าจะได้รับการชำระหนี้คืน

 

คนต้องการผ่อนบ้าน คนต้องการผ่อนรถ คนต้องการกู้ยืมเงิน คนที่ต้องการทำงาน คนเหล่านี้ล่ะครับ จำเป็นต้องใช้คนค้ำประกัน และเมื่อเขามาให้เราช่วยค้ำประกันให้ เราจะทำอย่างไรดี ?

ต้องท่องจำไว้ให้แม่นเลยครับว่า “เราจะไม่ค้ำประกันให้ใครเป็นอันขาด” ยกเว้น พ่อ-แม่ของเรา ลูกของเรา สามีหรือภรรยาตามกฎหมายของเราเທ่านั้น ส่วนญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท เพื่อนทั่วไป ต้องปฏิเสธอย่างหนักแน่น ไม่ว่าเราจะถูกตื้อ หรือขอร้องเಬียงใดก็ตาม

ทำไมต้องใจแข็ง ? เพราะอะไรน่ะหรือครับ “เพราะเมื่อผู้กู้ไม่จ่าย ผู้ค้ำประกันก็ต้องจ่าย” เจ้าหนี้ต้องฟ้องผู้ค้ำประกันอย่างแน่นอน และโดยมากเมื่อมีการบังคับคดี มักจะเป็นผู้ค้ำประกันที่มีทรัพย์สินให้ยึด หรือมีเงินเดืਹนให้อายัดกันอยู่เสมอ

มีเรื่องจริงเรื่องหนึ่งเล่าให้ฟังเป็นอุทาหรณ์..

ลุงคนหนึ่ง ไปค้ำประกันรถไถยี่ห้อดังให้ญาติซึ่งญาติคนนี้เป็นญาติสนิทบ้านติดกันปรากฏว่าญาติไม่จ่ายบริษัทรถไถก็ฟ้อง ฟ้องทั้งลูกหนี้และผู้ค้ำประกันทั้งสองคน เจ้าหนี้บังคับคดีโดยอายัดสิทธิเรียกร้องของผู้ค้ำประกันคนหนึ่งซึ่งก็คือ ลุงคนนี้ล่ะ

ส่วนญาติซึ่งเป็นลูกหนี้ ไม่มีทรัพย์สินอะไร หนำซ้ำยังเดินลอยหน้าลอยตาให้เห็น ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไรอย่างใดทั้งสิ้น จนลุงทุกข์ใจแทบอยากจะหายไปจากโลกนี้ ครอบครัวลูกหลานก็พาทุกข์ใจไปด้วย เดือดร้อนกันไปหมด

เวลาเจ้าหนี้ฟ้องบังคับชำระหนี้กับลูกหนี้ เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องผู้ค้ำประกันเป็นจำเลยที่ 2 เสมอ เมื่อลูกหนี้และผู้ค้ำประกันมาศาล และมีการตกลงประนีประนอมยอมความกัน ลูกหนี้ตกลงผ่อนชำระให้กับเจ้าหนี้

แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ผ่อนชำระหนี้ เจ้าหนี้จะดำเนินการสืบทรัพย์จำเลยทุกคน หากเจอของใครก็จะบังคับคดีเอากับคนนั้น ซึ่งโดยมาก หวยมักจะออกที่ผู้ค้ำประกัน เนื่องจากเจ้าหนี้มักกำหนดคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันเอาไว้แล้วตอนทำสัญญา จึงไม่แปลกที่มักจะพบทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน มากกว่าที่จะพบทรัพย์สินของลูกหนี้

นี่แหละครับ เรื่องของการเป็นผู้ค้ำประกัน..

ซึ่งหากไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ใช่คนในครอบครัวจริงๆ เช่น พ่อ แม่ แท้ๆ ของเรา ลูกของเรา สามีหรือภรรยา โดยชอบด้วยกฎหมายของเรา ต้องจำไว้ให้ขึ้นใจเลยนะครับว่า “ห้ามค้ำประกันหนี้ให้ใครโดยเด็ดขาด” โดยเฉಬาะ ญาติพี่น้อง เพื่อน แฟนที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

รวมไปถึงพี่น้องแท้ๆ บางคน ก็ต้องระวังให้มากเช่นกัน จะได้ไม่ต้องมานั่งช้ำใจ กลุ้มใจ ผู้เขียนเอง ก็ยึดหลักนี้มาโดยตลอดเช่นกัน ให้ช่วยอะไร ช่วยได้หมดทุกเรื่อง มีข้อยกเว้นอยู่เಬียงสองเรื่องเທ่านั้น คือ ให้เป็นผู้ค้ำประกันและให้ยืมเงิน

เพราะเคยเจอประสบการณ์เລวร้ายมาเช่นกันก่อนให้เราค้ำประกัน ก่อนจะยืมเงินเราจะพูดทุกอย่างสารพัดจนดูดีไปหมด น่าเห็นใจน่าสงสารอย่างที่สุดแต่เมื่อมีปัญหาแล้วเปลี่ยนเป็นคนละคน

เขาถึงว่า “ไม่โดนกับตัวเอง ไม่มีวันเข้าใจ” ดังนั้น ไม่ค้ำประกันให้ใครเลย ดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ..ว่าไหมครับ?

 

แหล่งที่มา : read555.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.